สาเหตุของอาการนี้ น่าจะมาจากตัวซีพียูนั่นเองครับ คือ ซีพียูน่าจะร้อนเกินขนาด ทำให้เครื่องทำงานไม่ไหว จนแฮงค์หรือรีสตาร์ทเอง มาดูสาเหตุที่ทำให้ซีพียูร้อน และวิธีแก้ของปัญหานี้กันครับ
สาเหตุที่ 1
สายพัดลมซีพียูหลวม
วิธีแก้เป็นเพราะซีพียูร้อนเกินขนาดและพัดลมซีพียูไม่หมุนเนื่องจากขั้วต่อระหว่างสายไฟเลี้ยงกับพัดลมซีพียูหลวมหรือหลุดวิธีแก้คือลองตรวจเช็คดูตรงขั้วต่อระหว่างสายไฟกับพัดลมว่าต่ออยู่หรือไม่ และแน่นสนิทดีหรือไม่
สาเหตุที่ 2
ฮีตซิงค์/พัดลมระบายอากาศเสีย
วิธีแก้เป็นเพราะการใช้งานเครื่องเป็นเวลายาวนาน(แบบไม่หยุดพัก)จนทำให้อุณหภูมิสะสมภายในเครื่องสูงขึ้น และถ้าหากว่าระบบระบายความร้อนภายในเครื่องทำงานได้ไม่ดีพอก็จะเป็นอีก ปัจจัยสำคัญที่ทำให้อุณหภูมิภายในเครื่องสูงขึ้น และอาจจะนำมาซึ่งความเสียหาย โดยเฉพาะซีพียู
ส่วนที่จะต้องจัดสรรให้ดีก็คือฮีตซิงค์และพัดลมระบายความร้อนจำเป็นที่จะต้องมีความสามารถในการระบายความร้อนที่ เหมาะสมกับความเร็วของซีพียู
ฮีตซิงค์/พัดลมระบายอากาศเสีย
วิธีแก้เป็นเพราะการใช้งานเครื่องเป็นเวลายาวนาน(แบบไม่หยุดพัก)จนทำให้อุณหภูมิสะสมภายในเครื่องสูงขึ้น และถ้าหากว่าระบบระบายความร้อนภายในเครื่องทำงานได้ไม่ดีพอก็จะเป็นอีก ปัจจัยสำคัญที่ทำให้อุณหภูมิภายในเครื่องสูงขึ้น และอาจจะนำมาซึ่งความเสียหาย โดยเฉพาะซีพียู
ส่วนที่จะต้องจัดสรรให้ดีก็คือฮีตซิงค์และพัดลมระบายความร้อนจำเป็นที่จะต้องมีความสามารถในการระบายความร้อนที่ เหมาะสมกับความเร็วของซีพียู
สาเหตุที่ 3
การระบายความร้อนภายในเครื่อง
วิธีแก้ ที่เสียเหตุอาจจะไม่ได้มาจากที่ตัวของพัดลมระบายอากาศอย่าง เดียวนะครับ แต่อาจมาจากเรื่องของฝุ่นควัน ที่เข้าไปอยู่ในพัดลม เมื่อใช้ไปนานๆ ฝุ่นควันเหล่านี้ก็จะเกาะติดพัดลม ทำให้ความสามารถในการระบายอากาศของฮีตซิงค์พัดลมลดลง
การระบายความร้อนภายในเครื่อง
วิธีแก้ ที่เสียเหตุอาจจะไม่ได้มาจากที่ตัวของพัดลมระบายอากาศอย่าง เดียวนะครับ แต่อาจมาจากเรื่องของฝุ่นควัน ที่เข้าไปอยู่ในพัดลม เมื่อใช้ไปนานๆ ฝุ่นควันเหล่านี้ก็จะเกาะติดพัดลม ทำให้ความสามารถในการระบายอากาศของฮีตซิงค์พัดลมลดลง
เรื่องของอุณหภูมิ
เมื่อซีพียูต้องทำงานที่มีความเร็วเกินขีดกำหนดก็จะเกิดความร้อนขึ้นเกินระดับที่ออกแบบไว้ทำให้อุณหภูมิสูงจนเครื่องอาจจะ แฮงค์ได้ (ซึ่งโดยมากไม่ก่อให้เกิดความเสียหายถาวร พออุณหภูมิลดลงก็กลับมาเป็นปกติ) ปกติอุณหภูมิรอบๆ ซีพียูควรอยู่ที่ประมาณ 50-60 องศา (ถ้าวัดจากตัวเมนบอร์ด) และสูงสุดไม่ควรเกิน 80 องศา (กรณีที่วัดโดยใช้สัญญาณจากภายในตัวซีพียูโดยตรงก็จะต้องไม่เกิน 90 องศา)
เมื่อซีพียูต้องทำงานที่มีความเร็วเกินขีดกำหนดก็จะเกิดความร้อนขึ้นเกินระดับที่ออกแบบไว้ทำให้อุณหภูมิสูงจนเครื่องอาจจะ แฮงค์ได้ (ซึ่งโดยมากไม่ก่อให้เกิดความเสียหายถาวร พออุณหภูมิลดลงก็กลับมาเป็นปกติ) ปกติอุณหภูมิรอบๆ ซีพียูควรอยู่ที่ประมาณ 50-60 องศา (ถ้าวัดจากตัวเมนบอร์ด) และสูงสุดไม่ควรเกิน 80 องศา (กรณีที่วัดโดยใช้สัญญาณจากภายในตัวซีพียูโดยตรงก็จะต้องไม่เกิน 90 องศา)
ขอบคุณเว็ปไซต์:http://techcomok.blogspot.com/2012/12/blog-post.htmlเเละ https://glaharnphinthisueb.wordpress.com/%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%AE%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%94%E0%B9%81%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B4/
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น